บทความ

โมลคือหน่วยใหม่ ที่นักเคมีกำหนดขึ้นมา เพื่อใช้แทน อนุภาคจำนวน 6.022(10²³) อะตอม รู้ได้ไงว่าเป็นเลข 6.022(10²³) เป็นแค่ 2 หรือ 5 อะตอม ไม่ได้หรอ ทำไมต้องเป็นเลขเยอะขนาดนั้นเรื่องของเรื่องคือ อะตอม 1 ตัว มันเล็กมาก และน้ำหนักเบาจัดๆ เช่น ไฮโดรเจน 1 อะตอม หนัก 1.66(10⁻²⁴) กรัม นักเคมีเลยมีความคิดจะรวมหลายๆอะตอมเข้าด้วยกันแล้วเรียกมันว่า โมล เพื่อให้สะดวกต่อการใช้งาน แต่ปัญหาคือ 1 โมลเนี่ย ควรมีกี่อะตอมดีหล่ะ

image of โมลคืออะไร ทำไมไม่ใช้อะตอม หรือโมเลกุล?

โดย Euw Chaivanon

19 มิถุนายน 2565

image of โมลคืออะไร ทำไมไม่ใช้อะตอม หรือโมเลกุล?

Feynman Technique เทคนิคการเรียนเรื่องใหม่ โดยหนึ่งในนักฟิสิกส์ที่ทรงคุณค่าและมีอิทธิพลมากที่สุดในโลกของศตวรรษที่ 20ในการจัดอันดับนักฟิสิกส์ยอดเยี่ยมตลอดการ โดยสำนักข่าวบีบีซี ริชาร์ด ฟายน์แมน (Richard Feynman) เป็นนักฟิสิกส์สมัยใหม่เพียงคนเดียวที่ติด 10 อันดับแรกของโลก แม้แต่สตีเฟ่น ฮอว์คิง ยังได้อันดับ 16

image of Feynman Technique เทคนิคการเรียน โดยนักฟิสิกส์ระดับโลก

โดย Max Phunsakorn

13 มิถุนายน 2565

image of Feynman Technique เทคนิคการเรียน โดยนักฟิสิกส์ระดับโลก

ในมหาวิทยาลัยการตัดเกรดจะไม่มีเกณฑ์คะแนนตายตัว แต่เกรดที่ได้จะขึ้นอยู่กับคะแนนของนักเรียนทั้งชั้น การตัดเกรดแบบนี้จะเรียกว่าการตัดเกรดแบบอิงกลุ่ม1. Mean 2. SD - Mean คือค่าเฉลี่ยของคะแนนนักเรียนทั้งชั้น - SD (Standard Deviation) หรือ ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน เป็นค่าทางสถิติ นิยมประกาศมาพร้อมกับคะแนน

image of เกรดแบบอิงกลุ่ม เขาตัดกันยังไง

โดย Navapon Pittayaporn

4 มิถุนายน 2565

image of เกรดแบบอิงกลุ่ม เขาตัดกันยังไง

พี่จัดว่าเป็นแคลคูลัสที่สำคัญที่สุดในซีรีย์วิชาแคลคูลัสเลยครับ แคลฯ1 เหมือนเป็นฐานของพีระมิดในการเรียนวิศวะเลยก็ว่าได้ หากฐานไม่แข็งแรง ก็ยากที่จะสร้างพีระมิดที่มั่นคงและสมบูรณ์ได้ใช่มั้ยครับวิชานี้จะคล้ายกับแคลคูลัสพื้นฐานตอน ม.ปลายครับ จะแบ่งเป็น 2 ส่วนหลักๆคือ 1. Differential calculus หรือที่เราเรียกกันติดปากว่า “ดิฟ” นั่นแหละ และ 2. Integral calculus หรือที่เราเรียกว่า “อินทิเกรต”แต่ถึงจะเหมือนกันแต่แคลฯ1ระดับมหาลัย จะลึกกว่า ม.ปลายเยอะนะ เช่นตอน ม.ปลายเราจะเรียนการดิฟฟังก์ชันง่ายๆ แต่ในมหาลัยเราจะต้องดิฟได้ทุกฟังก์ชันครับ เรียนดิฟจบก็มาต่อที่อินทิเกรต และแน่นอนเราจะต้องอินทิเกรตฟังก์ชันพื้นฐานเป็นทุกฟังก์ชัน สิ่งที่ท้าทายเฟรชชี่อย่างพวกเราที่สุดสำหรับวิชานี้ยกให้ เรื่อง“เทคนิคอินทิเกรต” ทั้ง 5 แบบเลยครับ เจอหัวข้อนี้ไปดิฟก่อนหน้าคือง่ายไปเลย

image of 11 วิชาที่ ปี1 วิศวะ เกือบทุกภาคต้องเรียน

โดย Aat Sukavaj

24 พฤษภาคม 2565

image of 11 วิชาที่ ปี1 วิศวะ เกือบทุกภาคต้องเรียน

ทำไมคิดกับเครื่องคิดเลขถึงได้ 2 แต่หาใน google ได้ 8 ? เครื่องคิดเลขผิดหรือ google ผิด สองแหล่งนี้คำนวณต่างกันยังไง มีหลักการอะไรพิเศษหรือป่าว มาดูหลักการพื้นฐานของเครื่องคิดเลขหรือคอมพิวเตอร์กันก่อน โดยทั่วไปจะมีลำดับการทำงานเรียงตาม BEMDAS ดังนี้เรียงง่ายๆคือ เจอ วงเล็บ() ทำก่อนและต่อด้วย ยกกำลัง ต่อด้วย × ÷ ต่อด้วย + - โดยที่ × และ ÷ อยู่ในลำดับที่ 3 ทั้งคู่ มีลำดับการทำงานที่เท่ากัน เจอพร้อมกันจะทำเครื่องหมายจากซ้ายไปขวา เช่น 8 ÷ 2 × 2 = 8

image of การคูณแบบ Implicit Multiple

โดย Euw Chaivanon

23 เมษายน 2565

image of การคูณแบบ Implicit Multiple

แคลคูลัสที่เราเรียนกันจนปวดหัวตั้งแต่ ม. ปลาย จนถึงมหาลัย ถูกคิดค้นโดยนักคณิตศาสตร์ 2 คน และค้นพบในเวลาไล่เลี่ยกัน คนที่หนึ่งเราจะคุ้นชื่อกันดีก็คือ ไอแซก นิวตัน แต่คนที่สองนี่สิเป็นใคร แล้วสรุปสุดท้ายใครคือบิดาของแคลคูลัสกันเเน่เรื่องราวเริ่มต้นเมื่อ ค.ศ. 1666 (สมัยกรุงศรีอยุธยา) นิวตัน พยายามอธิบายสิ่งที่เรียกว่าความเร็ว ว่ามันคืออัตราการเปลี่ยนแปลงของระยะทางเทียบกับเวลา และใช้สัญลักษณ์ว่า x dot อยู่ในหลักการที่ชื่อว่า Method of Fluxions ซึ่งก็คือหลักการของวิชาแคลคูลัสนั่นเอง

image of คนแรกที่ค้นพบ แคลคูลัส คือใครกันแน่!

โดย Aat Sukavaj

26 มีนาคม 2565

image of คนแรกที่ค้นพบ แคลคูลัส คือใครกันแน่!

กว่าจะเป็น Reynold number ต้องผ่านมือนักวิทยาศาสตร์ถึง 4 คนการหาความดันลดลงหรือ Pressure drop (∆P) จะต้องใช้ตัวแปรสำคัญหนึ่งตัว ซึ่งก็คือ Reynold number ถ้าเปรียบวิชา Fluid เป็นหนังเรื่องนึง Reynold number ก็คือพระเอกของเรื่องนี้

image of กว่าจะเป็น Reynold number

โดย Navapon Pittayaporn

5 มีนาคม 2565

image of กว่าจะเป็น Reynold number

เมื่อรถมีความเร็วแสดงว่ารถมีพลังงานจลน์ รู้ได้ไงว่ามีพลังงานนี้อยู่ มันเกิดมาได้ยังไง ทำไมถึงมีสูตรเป็น ½ mv²คนแรกที่ใช้คำว่าพลังงานคือนักวิทยาศาสตร์ชาวอังกฤษชื่อว่า Thomas Young คนเดียวกับที่ค้นพบค่า Young Modulus เขาพูดเรื่องพลังงานในการสอนเกี่ยวกับการชน

image of พลังงานจลน์ใครค้นพบ? และตัว T ย่อมาจากอะไร?

โดย Euw Chaivanon

5 กุมภาพันธ์ 2565

image of พลังงานจลน์ใครค้นพบ? และตัว T ย่อมาจากอะไร?

โดยปกติน้ำในท่อที่อยู่ใกล้ปั้มจะมีความดันมากกว่าน้ำที่อยู่ห่างจากปั้มไปไกลๆ ซึ่งความดันที่ลดลงไปนี้เราจะเรียกว่า Pressure drop (∆P)Pressure drop นี้เราสามารถคำนวณได้ มันมีค่าขึ้นกับ Friction factor (f) ซึ่งมี 2 สูตรคือ f = 64/Re กับ f = 16/Re คำถามคือ สูตรไหนถูก?

image of การไหลแบบ Laminar มีค่า Friction factor เท่าไหร่กันแน่?

โดย Navapon Pittayaporn

12 มกราคม 2565

image of การไหลแบบ Laminar มีค่า Friction factor เท่าไหร่กันแน่?

ก่อนหน้าเครื่องยนต์ 4จังหวะ มีการใช้งานเครื่องจักรไอน้ำเป็นเเหล่งพลังงานในโรงงานอุตสาหกรรมขนาดเล็ก นักประดิษฐ์พยายามที่จะสร้างมอเตอร์สำหรับโรงงานอุตสาหกรรม จึงนำไปสู่การประดิษฐ์เครื่องยนต์สันดาปภายในเลอนัวร์ (Jean Joseph Étienne Lenoir) เป็นคนเเรกที่ประดิษฐ์เครื่องยนต์สันดาปภายใน หลังจากนั้น อ๊อตโต(Nicolaus August Otto) ชาวเยอรมัน ได้สร้างเครื่องยนต์สันดาปภายในเเบบ 4จังหวะ ขึ้นมาเป็นครั้งเเรกของโลกซึ่งเหมาะสมกับรถยนต์ที่ใช้เชื้อเพลิงเหลว เเละใช้กับรถยนต์ รถมอเตอร์ไซค์ เรือหรือเครื่องบิน

image of บิดาแห่ง เครื่องยนต์ 4 จังหวะ

โดย Navapon Pittayaporn

20 พฤศจิกายน 2564

image of บิดาแห่ง เครื่องยนต์ 4 จังหวะ