บทความ

น้อง ๆ วิศวะทุกคนน่าจะเคยใช้กฎโลปิตาล (l'Hôpital's rule) ในการแก้โจทย์ลิมิตกันใช่มั้ยครับ เห็นชื่อว่าโลปิตาล คงเข้าใจว่าโลปิตาลเป็นคนคิดแน่ ๆ เลย แต่ปล่าวเลย คนคิดคือโยฮันน์ แบร์นูลลี(Johann Bernoulli) คนในตระกูลแบร์นูลลีอันโด่งดัง ตระกูลเดียวกับที่คิดสมการแบร์นูลลีในวิชากลศาสตร์ของไหลนั่นแหละ ราวปี ค.ศ. 1694 โยฮันน์ได้ถูกว่าจ้างให้สอนคณิตศาสตร์ให้กับโลปิตาล (Guillaume de l'Hôpital) และก็ได้ทำตกลงกันว่าผลงานที่ถูกคิดได้ในตอนนั้น จะต้องถูกตีพิมพ์ในชื่อของโลปิตาล

image of กฎของโลปิตาล | วิธีหาลิมิตสุดเจ๋งที่ “โลปิตาลไม่ได้เป็นคนคิด” 

โดย Aat Sukavaj

22 กรกฎาคม 2566

image of กฎของโลปิตาล | วิธีหาลิมิตสุดเจ๋งที่ “โลปิตาลไม่ได้เป็นคนคิด” 

การ “ดิฟ” หรือการหาอนุพันธ์ มีสูตรเยอะมาก เยอะจนมีการรวบรวมไว้เป็นตาราง แต่ภายใต้แนวคิดสูตรมากมายกลับมาจากหลักการง่ายๆแค่ “ความชันของเส้นสัมผัสส่วนโค้ง” เท่านั้นเอง เรามาดูกันครับว่าจาก ความชัน กลายเป็นสูตร ดิฟ ได้ยังไงทุกคนคงตอบได้ว่า m = Δy/Δx ซึ่งเป็นการหาความชันระหว่างจุด 2 จุดบนเส้นตรง โดยไม่ว่าสมการเส้นตรง จะมีหน้าตาอย่างไร ก็สามารถใช้สูตรนี้หาความชันได้ เนื่องจากสมการเส้นตรงมีความชันที่คงที่ แต่สำหรับฟังก์ชันอื่นๆ ความชันจะไม่คงที่ และจะแปรเปลี่ยนตามค่า x ทำให้เราไม่สามารถใช้สูตรนี้หาความชันของฟังก์ชันอื่นๆที่ไม่ใช่สมการเส้นตรง

image of ดิฟ x² ได้ 2x สูตรนี้มาจากไหน

โดย Aat Sukavaj

10 มิถุนายน 2566

image of ดิฟ x² ได้ 2x สูตรนี้มาจากไหน

การตัดเกรดในระดับมหาวิทยาลัย จะแบ่งเป็น 2 แบบใหญ่ ๆ โดยขึ้นกับการตกลงกันของผู้สอน คือการตั้งเกณฑ์ไว้ตั้งแต่แรกเลย เช่น มากกว่า 80% ได้ A   มากกว่า 70% ได้ B มากกว่า 60% ได้ C มากกว่า 50% ได้ D ต่ำกว่า 50% ได้ F

image of มหาลัยเค้าตัดเกรดกันยังไง ?

โดย Euw Chaivanon

27 พฤษภาคม 2566

image of มหาลัยเค้าตัดเกรดกันยังไง ?

ค่า e ค่าคงที่สุดพิศวง  ที่สามารถทำนายปรากฏการณ์ต่าง ๆ ได้อย่างแม่นยำ ไม่ว่าจะเป็นการเติบโตของประชากร การทำนายการเย็นตัวของวัตถุ และอื่น ๆ อีกมากมาย ค่า e หรือที่เรารู้จักกันในชื่อเลขของออยเลอร์ (Euler’s number) จริงๆแล้วคนที่คิดค่า e ได้คนแรกไม่ใช่ออยเลอร์ (อ่าว) แต่เป็น จาคอบ แบร์นูลลี (Jacob Bernoulli) คนในตละกูลแบร์นูลลี อันโด่งดัง ซึ่งคิดค้นได้โดยบังเอิญในปี ค.ศ. 1683 ขณะที่กำลังศึกษาเรื่องดอกเบี้ยทบต้น

image of ค่า e ค่าคงที่สุดพิศวง

โดย Aat Sukavaj

29 เมษายน 2566

image of ค่า e ค่าคงที่สุดพิศวง

คงไม่มีใครคิดว่า “น้ำจะเดือดได้เอง โดยอาศัยอากาศที่อยู่รอบ ๆ ซึ่งมีอุณหภูมิที่ต่ำกว่าถ่ายเทความร้อนให้” เพราะมันขัดกับ common sense ที่ว่า ความร้อนถ่ายเทจากที่ที่มีอุณหภูมิสูง ไปสู่ที่ที่มีอุณหภูมิต่ำ (กฎข้อที่สองของเทอร์โมไดนามิกส์) ยกเว้นแต่ เจมส์ เคลิร์ก แมกซ์เวลล์ (James Clerk Maxwell)ในช่วงปี 1867 แมกซ์เวลล์ ได้เขียนจดหมายเล่าแนวคิดแสนแปลกประหลาดนี้ให้เพื่อนนักฟิสิกส์ฟัง ซึ่งแนวคิดนี้ได้แหกกฎข้อที่สองของเทอร์โมไดนามิกส์!! ซึ่งเป็นเรื่องใหญ่มาก เพราะ ทฤษฎีต่าง ๆ ที่อ้างอิงกับกฎข้อนั้นจะมีปัญหาตามไปด้วย การแหกกฎซักข้อเปรียบได้กับล้มโดมิโน่ตัวแรก และจะตามมาด้วยการพังทลายของทฤษฎีต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้อง

image of Maxwell’s Demon  ปีศาจผู้แหกกฎข้อที่ 2 ของเทอร์โมไดนามิกส์

โดย Max Phunsakorn

25 กุมภาพันธ์ 2566

image of Maxwell’s Demon  ปีศาจผู้แหกกฎข้อที่ 2 ของเทอร์โมไดนามิกส์

ตลอดทั้งวันที่เรานั่งทำงาน ดูหนัง ฟังเพลง เเละทำกิจกรรมต่างๆ เคยสงสัยกันบ้างไหมว่าไฟฟ้าที่เอามาจ่ายอุปกรณ์ต่างๆ เหล่านั้นมาจากไหน วันนี้เรามาดูให้ลึกมากขึ้นหน่อยว่ากระบวนการต่างๆ กว่าจะมีไฟฟ้ามาใช้ตามบ้านเรานั้นมีที่ไปที่มายังไงระบบจำหน่ายไฟฟ้าเเบ่งออกเป็น 6 ส่วน เริ่มที่ Power grid station หรือโรงไฟฟ้า ซึ่งทำหน้าที่ผลิตไฟฟ้าจากการนำเชื้อเพลิงต่างๆ เช่น ก๊าซธรรมชาติ ถ่านหิน มาผลิตไฟฟ้าโดยเปลี่ยนพลังงานในรูปเเบบต่างๆ ให้มาเป็นพลังงานไฟฟ้า โรงไฟฟ้าส่วนใหญ่ในประเทศไทยคือโรงไฟฟ้าถ่านหิน โรงไฟฟ้าพลังงานความร้อนร่วม รวมไปถึงโรงไฟฟ้าพลังงานธรรมชาติ เช่น โซลาร์ฟาร์ม เขื่อนผลิตไฟฟ้า เเละกังหันลม พลังงานไฟฟ้าที่ผลิตได้ก็จะมีกำลังเป็น MW หรือ GW ตามที่ต้องการ กำลังเหล่านี้ก็จะถูกส่งออกไปและจ่ายให้กับบ้านของเรา

image of กว่าไฟฟ้า จะเดินทางมาถึงเรา

โดย Nitichat Luangaram

11 กุมภาพันธ์ 2566

image of กว่าไฟฟ้า จะเดินทางมาถึงเรา

ลำดับฟีโบนัชชี ”รหัสลับแห่งจักรวาล” ที่ปรากฏตามธรรมชาติ งานศิลปะระดับโลก จนไปถึงการใช้ทำนายราคาหุ้นในอนาคต  ย้อนไปในราวปี ค.ศ. 1200 เลโอนาร์โด ฟีโบนัชชี นักคณิตศาสตร์ชาวอิตาลี ที่ในสมัยเด็กเป็นลูกพ่อค้า จึงจำเป็นต้องเดินทางไปค้าขายกับพ่ออยู่บ่อย ๆ ระหว่างการเดินทางก็ได้มีโอกาสศึกษาความรู้ในการคำนวณจากอาจารย์มากมายในแถบทะเลเมดิเตอร์เรเนียน

image of ลำดับฟีโบนัชชี ”รหัสลับแห่งจักรวาล”

โดย Aat Sukavaj

28 มกราคม 2566

image of ลำดับฟีโบนัชชี ”รหัสลับแห่งจักรวาล”

ค่าพาย (π) ค่าคงที่ที่เหล่านักคณิตศาสตร์ทั่วโลกช่วยกันหาคำตอบมาเกือบ 4,000ปี แต่ก็ยังไขความลับได้เพียงส่วนหนึ่งเท่านั้น เรื่องราวของค่าพาย คงต้องเริ่มจากรูปวงกลม รูปทางเรขาคณิตแบบ 2 มิติ ที่ความสมมาตรมากที่สุดในจักรวาล ซึ่งเป็นรูปทรงเดียวที่เมื่อเราพับครึ่งจากด้านไหนก็ตาม มันก็จะประกบกันพอดีเสมอ 

image of พาย (π) ตัวเลขมหัศจรรย์ ที่หาคำตอบมาเกือบ 4,000 ปี

โดย Aat Sukavaj

20 มกราคม 2566

image of พาย (π) ตัวเลขมหัศจรรย์ ที่หาคำตอบมาเกือบ 4,000 ปี

สะพานที่มีสายเคเบิล เช่น สะพานพระราม 9, สะพานภูมิพล สะพานเหล่านี้มีสายเคเบิลไว้ทำไม เเละถ้าไม่มีใช้แบบอื่นแทนได้หรือไม่ถ้าสังเกตุดีๆ สะพานที่มีเคเบิลจะมีความยาวระหว่างเสาหรือตอม่อที่มากกว่าสะพานทั่วไป เช่น สะพานพระราม 9 มีความยาวระหว่างเสาเป็น 450 เมตร แต่สะพานกรุงเทพยาวสุดเพียง 64 เมตร ฉะนั้นสายเคเบิลก็เอาไว้เพื่อช่วยรับแรงแทนเสา ทำให้ความยาวระหว่างเสาสะพาน ยาวได้มากขึ้น

image of สายเคเบิลบนสะพาน มีไว้ทำไม?

โดย Euw Chaivanon

7 มกราคม 2566

image of สายเคเบิลบนสะพาน มีไว้ทำไม?

สมการนาเวียร์-สโตกส์ สุดยอดสมการแห่งวงการกลศาสตร์ของไหล ใครสามารถแก้ได้ รับเงินรางวัล 35 ล้านไปเลยถ้าพูดถึงสมการที่ใช้อธิบายการไหล หลายๆคนคงคิดถึงสมการแบร์นูลลีใช่ไหมครับ แต่สมการแบร์นูลลีมีเงื่อนไขในการใช้งานที่จำกัดมากโดยเฉพาะเงื่อนไขที่บอกว่า “ไม่คิดแรงเสียดทานเนื่องจากความหนืดของของไหล” ทำให้ในหลายสถานการณ์สมการนี้จึงมีความคาดเคลื่อนจากการคำนวณที่สูง

image of สมการนาเวียร์-สโตกส์

โดย Aat Sukavaj

17 ธันวาคม 2565

image of สมการนาเวียร์-สโตกส์